ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาล ดูแลเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย

โทร. 087-9381769

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

จันทร์-ศุกร์ : 07:00 - 17:00

เวลาทำการ

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้สูงอายุ

  • เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น ไม่ได้มีแต่จำนวนตัวเลขเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่ร่างกายของเราก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเฉพาะด้านร่างกายที่ค่อยๆเสื่อมถอยลง และส่งผลให้เกิด
    การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจเช่นกัน
  • นอกจากนี้บทบาท หน้าที่ทางการงาน , สังคม,ครอบครัว ก็มีการปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน
    ซึ่งส่งผลกับกิจกรรมที่เราทำประจำวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุหมดความมั่นใจในตัวเองลง รวมไปถึงเกิดความไม่พอใจ เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว และสิ้นหวัง
  • จากการสำรวจสุขภาพจิตของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางจิตมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นจากการเกษียณอายุ การหยุดทำงาน การไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง
  • การเสื่อมถอยของสภาพร่างกาย ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับคนรอบข้าง หรือการจากไปของเพื่อนหรือคู่ครอง เป็นต้น

อารมณ์ของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไปมีหลายสาเหตุ

  1. ผู้ที่เกษียณอายุจากการทำงาน เพราะบทบาทหน้าที่ในการทำงานของตัวเองเปลี่ยนแปลงไปหรือหายไป ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่ได้รับการยกย่อง หรือไร้ค่า รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองลดลง ขาดความมั่นใจ จนเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้หงุดหงิดง่ายมากขึ้นเพราะไม่มีคนเคารพนับถือให้ความสำคัญและเข้าหาเหมือนแต่ก่อน
  2. การเสื่อมถอยทางร่างกาย เช่น อาจจะสูญเสียการได้ยิน การมองเห็นที่แย่ลง การรับรู้รส การสัมผัส และช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ทำอะไรช้าลง หรือไม่ได้ดั่งใจ จนทำให้หงุดหงิด น้อยใจ หมดความมั่นใจในตนเอง เกิดอาการซึมเศร้า โกรธ โมโห เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ เป็นตัวถ่วง ที่ต้องพึ่งพาคนรอบข้าง
  3. ด้านความสัมพันธ์ นี่เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น คนที่รู้จัก คนรัก คนในครอบครัว หรือเพื่อนๆ ก็จะค่อยๆ ทยอยจากไปตามกาลเวลา ทำให้ผู้สูงอายุบางท่าน อาจต้องปรับเปลี่ยนสังคมที่อยู่ ทำให้เกิดความอึดอัดในการปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ๆ ทำให้เกิดอาการไม่อยากสุงสิงกับใคร ไม่ชอบพบปะผู้คนใหม่ๆ จะเงียบเหงา มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หดหู่ ว้าเหว่ กลัว ขี้งอน หงุดหงิด จู้จี้ โกรธ ขี้โมโห จนก่อให้เกิดความรู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนสนใจ ตัวเองไม่มีค่าไม่มีความสำคัญ และมักจะปฏิเสธความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะไม่อยากเป็นภาระ
  4. ช่องว่างระหว่างวัยและเทคโนโลยี ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุบางคนอาจตามเทคโนโลยีที่มีไม่ทัน หรือหมดความสนใจที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จนเกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า และรู้สึกแปลกแยกมากขึ้นเพราะไม่สามารถเข้าสังคมได้อีกต่อไป ทำให้ต้องพูดคุยแต่เรื่องที่ตัวเองสบายใจ เรื่องที่พอจำได้และยิ่งทำให้สื่อสารกับลูกหลานได้ลำบากขึ้นอีกด้วย

ด้วยสถานการ์ณทั้งหมดนี้เองที่ทำให้อารมณ์ของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไปโดยส่วนใหญ่จะเป็นความรู้สึกที่ตัวเอง หมดค่าหมดความหมายต่อครอบครัวหรือสังคม ก่อให้เกิดปัญหาของโรคทางจิตใจที่ตามมาได้อย่างง่ายดาย และหากตัวผู้สูงอายุเอง หรือคนรอบข้างเข้าใจเหตุและปัจจัยเหล่านี้ ก็จะสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั่นเองค่ะ

…………………………………………………………………..

#ยินดีให้คำปรึกษาและบริการ
#บริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย
#หาดใหญ่
#ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ_ผู้ป่วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *