ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาล ดูแลเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย

โทร. 087-9381769

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

จันทร์-ศุกร์ : 07:00 - 17:00

เวลาทำการ

ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ

#ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ อีกหนึ่งโรคที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุจะพบบ่อยก็คือ ปัญหาด้านการได้ยินของผู้สูงอายุนั่นเองหรือ พูดง่ายก็คือ เป็นโรคหูอื้อ หรือ หูตึงนั่นเองเนื่องจากเป็นภาวะที่ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว

และคนรอบข้างเองก็อาจประสบปัญหาด้วยเช่นกันเพราะอาจจะต้องตะโกน หรือ อาจจสื่อสารผิดพลาดทำให้เข้าใจผิดซึ่งกันและกัน และที่สำคัญ หากผู้สูงอายุไม่ได้ยินเสียงที่คอยเตือนอันตรายก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุแบบที่เราอาจคาดไม่ถึงเช่นกัน

ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุอาจเกิดจากความผิดปกติ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนนำเสียงและขยายเสียง ได้แก่ หูชั้นนอกและหูชั้นกลางเมื่อคลื่นเสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบแก้วหู และมีการส่งต่อและขยายเสียงโดยกระดูกหู 3 ชิ้นในหูชั้นกลาง ไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในหูชั้นนอกและหูชั้นกลางของผู้สูงอายุจะทำให้เกิดภาวะหูอื้อ หรือหูตึงได้
2. ส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมองซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ ความผิดปกติบริเวณนี้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หรือหูหนวกถาวรได้ และบางโรคทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ
1. ถ้ามีปัญหาการได้ยินไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนักไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ แต่ควรหาสาเหตุดังกล่าวด้วย
2. ถ้ามีปัญหาการได้ยินมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้างและรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การแยกแยะเสียงได้ชัดเจนขึ้น
3. ถ้าปัญหาการได้ยิน เกิดจากประสาทรับเสียงเสื่อม ควรป้องกันไม่ให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากขึ้น โดย
– หลีกเลี่ยงเสียงดัง
– ถ้าเกิดจากโรคต่างๆที่เป็นอยู่ ก็ให้ควบคุมโรคให้ดี เพราะโรคเหล่านี้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง และอาจทให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าเดิม
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู
– หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
– หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
– ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ, ชา, เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่
– พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ดังนั้นปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ อาจมีสาเหตุจากการเสื่อมจากอายุ ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ หรือหากเกิดจากโรคต่างๆ ก็ให้ควบคุมดูแลโรคนั้นๆให้ดี โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ ก็จะสามารถช่วยลดการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นได้

อีกทั้งผู้ที่ดูแล ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับอาการที่ท่านเป็น เข้าใจว่าท่านป่วยและต้องการการช่วยเหลือใช้หัวใจของการเป็นผู้ดูแล ฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและใจของท่านให้แข็งแรงสม่ำเสมอก็จะช่วยได้ดีมากๆค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
www.jaruwannurseathome.com
#ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ_ผู้ป่วย
#Jaruwannurseathome##

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *