#โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคกระดูกทั้งหมดพบว่ามีประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนโดยพบในเพศหญิงร้อยละ 33 และเพศชายร้อยละ 20
โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบและเป็นโรคที่สามารถป้องกันรักษาได้แต่เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีอาการหรือสัญญาณใดๆ บอกเตือนก่อนผู้ป่วยส่วนมากจึงไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาในช่วงแรกๆ ของการเป็นโรคจนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหักขึ้นมาแล้วนั่นเอง
โดยมวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นตลอดในช่วงวัยเด็กจนถึงอายุประมาณ 25 – 30 ปี และคงสภาพอยู่ในวัยกลางคนตอนต้นและค่อยๆ ลดลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
ประเภทของโรคกระดูกพรุน
1.เป็นโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ เช่น โรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน โรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
2. โรคกระดูกพรุนที่มีสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ระบบต่อมไร้ท่อ โรคทางอายุรกรรมการบกพร่องทางวิตามินดี หรือเกิดจากยาต่าง ๆ
การรักษาโรคกระดูกพรุน (สามารถประยุกต์ได้กับผู้ป่วยทุกราย หรือกลุ่มเสี่ยง)
1. บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง ปริมาณแคลเซียมที่คนไทยควรได้รับอยู่ประมาณ 800 – 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
2. รับวิตามินดีที่เพียงพอ โดยทั่วไปมักแนะนำให้ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนสัมผัสแสงแดด 10 – 15 นาทีต่อวัน (หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น.)
3. ลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน งดดื่มสุรา กาแฟ และอาหารที่มีโปรตีนเนื้อสัตว์มากเกินไป เลิกบุหรี่
4. ออกกำลังกาย แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอ
5. ป้องกันการหกล้ม ต้องปรับและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หกล้มได้ง่าย
เนื่องจาก โรคกระดูกพรุน มักไม่แสดงอาการในช่วงแรก การหมั่นดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่เสริมแคลเซียมออกกำลังกายเบาๆ หรือ เดินออกไปรับแสงแดดก็เป็นวิธีการใช้ชีวิตที่จะทำให้ ผู้สูงวัย ห่างไกลจากการเป็นโรคกระดูกพรุนได้
ลูกหลาน หรือ คนในครอบครัวที่คอยดูแลต้องใส่ใจเรื่องการรับประทานอาหาร โดยนอกจากอาหารหลักๆที่ครบ 5 หมู่แล้ว
การคอยระมัดระวังไม่ให้ #ผู้สูงวัย เสี่ยงต่อการหกล้ม ด้วยการติดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นกันเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของท่านค่ะ
CR. สสส
www.jaruwannurseathome.com
#ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ_ผู้ป่วย
#Jaruwannurseathome
ใส่ความเห็น