ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาล ดูแลเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย

โทร. 087-9381769

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

จันทร์-ศุกร์ : 07:00 - 17:00

เวลาทำการ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุEP_1

#ผู้ดูแลผู้สูงอายุEP_1
Jaruwan Nurse at home the series
>>> ตอน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ EP1
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ พ.ศ 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 หรือ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ (UN) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) สัดส่วน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7-10
2. สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) สัดส่วน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 14
3. สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) สัดส่วน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20

รู้หรือไม่ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อย เช่น ประเทศญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมัน สวีเดน สิงคโปร์ ส่วนประเทศกำลังพัฒนากำลังตามมาติดๆ ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2548 >>>> จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรโดยรวมมีแนวโน้มลดลง

สถานการณ์และแนวโน้มระดับโลก ภูมิภาค ประเทศโลก
– ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) คาดการณ์ว่าปี ค.ศ. 2050 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจากปัจจุบัน โดยมีจำนวนมากกว่า 2000 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรโลก
– ปี ค.ศ. 2100 จำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีถึง 3000 ล้านคน หรือร้อยละ 30 ของประชากรโลก ประเทศไทย
– มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ 2021 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี ค.ศ. 2035 ซึ่งเร็วมากเพราะใช้เวลาเพียง 3 ทศวรรษเท่านั้น
-จากข้อมูลรายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 ตามที่สถาบันพัฒนาการเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอพบว่าปี พ.ศ. 2583 ผู้สูงอายุมีสัดส่วนร้อยละ 31.28 ของประชากรทั้งประเทศ อายุเฉลี่ยเพิ่มจาก 76.8 ปี เป็น 83.2 ปี กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีเพศชาย 41 คน ต่อผู้หญิง 100 คน

โครงสร้างทางประชากรของประเทศไทย ในอดีตโครงสร้างครอบครัวทั่วไปมักเป็นแบบพีระมิดกล่าวคือ มีจำนวนผู้สูงอายุ (รุ่นปู่ย่า) น้อย รุ่นพ่อแม่เพิ่มจำนวนขึ้น และสมาชิกรุ่น
และลูกหลานมากที่สุด โครงสร้างครอบครัว ในรูปแบบดังกล่าว กำลังเปลี่ยนแปลงไป
อัตราเกิดที่ลดลงทั่วโลก รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอันดับสอง รองจากประเทศสิงคโปร์ และอับดับสาม
คือประเทศเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียน

สถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย เนื่องด้วยปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ การโภชนาการ สวัสดิการต่าง ๆ ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีอายุยืนยาวมากขึ้น

แต่ขณะเดียวกัน จากรายงานของ National Institute on Aging 2007 คาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้ความเจ็บป่วยและเสียชีวิตในทุกภูมิภาคทั่วโลก จะมาจากโรคไม่ติดต่อ หรือโรคเรื้อรังเป็นหลักมากกว่าที่จะมาจากโรคติดต่อ

ในขณะที่โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป แนวโน้มครอบครัวมีลูกน้อยลงหรือไม่มีลูก การอยู่คนเดียว ทำให้สัดส่วนผู้ดูแลในครอบครัวมีจำนวนลดลงร่วมกับไม่มีเวลา ทำให้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ที่เพียงพอกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

ที่มา
– AGING SOCIETY, THE OPPORTUNITY
เข้าถึงได้จาก www.facebook.com/theopportunitybyokmd/www.okmd.or.th
– เปิดคาดประมาณประชากรไทยอีก 20 ปีข้างหน้า คนแก่พุ่ง-หญิงมากกว่าชาย เข้าถึงได้จาก www.posttoday.com

www.jaruwannurseathome.com
#ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ_ผู้ป่วย
#ผู้สูงอายุ
#ดูแลผู้สูงอายุ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *