#โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)อาจฟังดูไม่คุ้นหูแต่ถ้าบอกว่า #อัมพาต หลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีอัมพาตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุแต่สาเหตุสำคัญ คือ การที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตในระยะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด
1. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140-80 มิลลิเมตรปรอท (ค่าปกติ 140-80 มิลลิเมตรปรอท) จะทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือเกิดการแตกหรือตีบของหลอดเลือดสมองได้
2.โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็งทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เกิดเป็นอัมพาต
3.ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
4.สูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากสารในบุหรี่หลายตัวเป็นตัวเร่งให้เกิดการระคายเคืองของผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันขึ้นได้
5.ขาดการออกกำลังกาย
6.ความเครียด ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบตันเฉียบพลัน
7.โรคอ้วน
วิธีป้องกัน หมั่นสังเกตุอาการ และตรวจสุขภาพบ่อยๆ โดยแบ่งวิธีการตรวจดังนี้
1.การตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหลอดเลือดสมองว่ามีการแตกหรือตีบตันของหลอดเลือดในสมองหรือไม่
2.การตรวจสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยสนามแม่เหล็กที่สามารถให้รายละเอียดของสมองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจพบการตีบตันของหลอดเลือดสมองได้ตั้งแต่ในระยะแรก และยังสามารถตรวจความผิดปกติของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
3.การทำอัลตราซาวนด์หลอดเลือดคอ (Carotid Duplex Ultrasound) เพื่อตรวจภาวะความอุดตันของหลอดเลือดบริเวณคอ โดยใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจหาขนาดและความหนาของผนังหลอดเลือด รวมทั้งการหมุนเวียนของหลอดเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง
ในส่วนของการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุในบ้านเกิดอาการหลอดเลือดสมองตีบ ต้องหมั่นดูแลและสังเกตุอาการของท่านให้ดี งดปัจจัยเสี่ยงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ อาหารที่ทำให้เกิดไขมัน ตามที่แนะนำข้างต้น
โดยความใส่ใจที่ผู้ดูแลมีนั้น สามารถช่วยเยียวยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ความเครียดลดลง ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้
Cr.โรงพยาบาลกรุงเทพ
www.jaruwannurseathome.com
#ศูนย์หาดใหญ่บริการจัดส่งผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ_ผู้ป่วย
#Jaruwannurseathome
ใส่ความเห็น